วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ อันตรายจากระดับสูงของกระทรวงการคลัง


คลิกที่ภาพจะเห็นภาพที่ใหญ่ขึ้น


ปี 2518 วงกลมซ้าย เป็นปีที่เปิดตลาดหุ้น อีก 3-4 ปีต่อมา ตลาดหุ้นตก 62 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ต้อง ”ลดค่าเงินบาท” หลายครั้ง เกิดโครงการ 4 เมษายน 2527 ทางการเข้าควบกิจการ 25 ไฟแนนซ์และเครดิตฟองซิเอร์ เปิดกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ทุนสำรองเสียหาย ต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินครั้งแรกจาก IMF

ปี 2536 วงกลมขวา เดือนตุลาคม นำระบบ Maintenance margin & force sell มาใช้ในตลาดหุ้น ตลาดหุ้นขึ้นไปที่ 1,750 และพังทลายลง 88 เปอร์เซ็นต์ เป็นผลถึงต้อง “ลอยค่าเงินบาท” เกิดโครงการ 14 สิงหาคม 2541 ปิดกิจการ 56 สถาบันการเงิน ทุนสำรองลดลงรุนแรง ต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF ครั้งที่ 2

กองทุนเพื่อการฟื้นฟู (Financial Institutions Development Fund FIDF) มีหนี้ที่เกิดจากการปิด 56 สถาบันการเงิน 1.4 ล้านล้านบาท ช่วง 12 ปีของการบริหารจัดการกองทุน (2541-2553) ได้ชำระคืนหนี้ 249,898 ล้านบาท หรือเฉลี่ยชำระหนี้ปีละ 20,825 ล้านบาท ชำระดอกเบี้ย 604,473 ล้านบาท หรือเฉลี่ยชำระดอกเบี้ยปีละ 50,373 ล้านบาท เงินที่ใช้ในการชำระดอกเบี้ยเป็นภาษีของประชาชน

ยังคงมีหนี้คงเหลือ 1.14 ล้านล้านบาท หักกับสินทรัพย์ที่มีอยู่ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูประมาณ 2 แสนล้านบาท จะต้องใช้เวลาประมาณ 45 ปี จึงจะใช้หนี้นี้ได้หมด

ทางการจะยุติบทบาทของกองทุนฟื้นฟูในปี 2556


แล้วหนี้ที่เหลือประมาณ 1 ล้านล้านบาทของกองทุนฟื้นฟูจะเอาไปไว้ที่ไหน

ปี 2551 ทางการตั้ง “สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (Deposit Protection Agency DPA)” ซึ่งมีวิสัยทัศน์ใกล้เคียงกับของกองทุนฟื้นฟู แต่ลดบทบาทลงมาก คือไม่ได้ช่วยเหลือสภาพคล่องเมื่อสถาบันการเงินประสบปัญหาด้านสภาพคล่อง และไม่คุ้มครองเงินฝากทั้งจำนวน แต่จะคุ้มครองเงินฝากประชาชนไม่เกินบัญชีละ 1 ล้านบาท

วิสัยทัศน์สถาบันคุ้มครองเงินฝาก เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุคล้ายกองทุนเพื่อการฟื้นฟู ประวัติศาสตร์บอกว่าวิสัยทัศน์กองทุนเพื่อการฟื้นฟูล้มเหลวและก่อหนี้ก้อนโตให้ระบบ สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ก็มีโอกาสจะล้มเหลวและเกิดหนี้ก้อนโตให้ระบบเช่นเดียวกัน

นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (Sovereign Wealth Funds)

พบว่าประเทศต่างๆที่ตั้งกองทุนมั่งคั่ง เพราะมีรายได้เหลือล้น ไม่มีหนี้ เช่นประเทศที่มีบ่อน้ำมันในตะวันออกกลางเป็นต้น แต่มีหลายประเทศที่ตั้งกองทุนมั่งคั่ง โดยไม่สนใจฐานะเศรษฐกิจของประเทศ

ประเทศไทย กำลังคิดจะออกพรบ.ดึงเงิน 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 300,000 ล้านบาท จากทุนสำรองการเงินระหว่างประเทศ มาตั้งเป็นกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ (Sovereign Wealth Funds) หรือนำไปลงทุนในกิจการพลังงาน

ทุนสำรองการเงินระหว่างประเทศ

การเปลี่ยนแปลงของทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ ในอดีตจะเกี่ยวข้องกับดุลบัญชีเดินสะพัด เช่นผลต่างของมูลค่าการส่งออกและนำเข้า ผลต่างจากมูลค่าการท่องเที่ยว ที่ต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในไทยและคนไทยเดินทางออกไปท่องเที่ยวต่างประเทศ รวมทั้งคนไทยไปขายแรงงานที่ต่างประเทศ และต่างชาติมาขายแรงงานในไทย

ทุกวันนี้ทุนสำรองเงินตราของทุกประเทศ เป็นเรื่องไม่มั่นคง และอาจจะผิดปกติได้ง่าย ที่เป็นผลมาจากการไหลเข้าออกของทุนโดยตรง โดยเฉพาะการไหลเข้าของการลงทุนทางอ้อม เช่นการลงทุนในตลาดทุนและตลาดพันธบัตร ทำให้เงินทุนไหลเข้าก็ง่าย ไหลออกก็ง่าย ที่ส่งผลให้ทุนสำรองเพิ่ม-ลดได้ง่าย

ทุนสำรองของประเทศไทยเคยเสียหายมาแล้วถึง 2 ครั้ง ที่เป็นผลให้ประเทศไทยต้องเข้าโครงการไอเอ็มเอฟมาแล้วถึง 2 ครั้ง วงกลมใหญ่ในแผนภูมิทุนสำรองเงินตราต่างประเทศสุทธิ แสดงให้เห็นว่าทุนสำรองของประเทศตกลงต่ำมาก ที่ทำให้ประเทศต้องเข้าโครงการไอเอ็มเอฟครั้งที่ 2 นั่นเอง

แม้แต่ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังปี 2000 เงินทุนไหลออก เงินเหรียญสหรัฐอ่อนค่า จนเกิดปัญหาการล้มลงของภาคการผลิตจริง และภาคการเงิน ทำให้มีหนี้ท่วมประเทศ ที่ระยะหลังนี้ต้องเพิ่มเพดานหนี้ทุกปี 

ประเทศเวียดนาม เงินทุนไหลออก เงินดองอ่อนค่า ตั้งแต่ปี 2008 ถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่ดีขึ้น

การจะนำเงินจากทุนสำรองมาใช้ จึงควรระมัดระวัง

การตั้งกองทุนมั่งคั่ง  ควรนำมาจากเงินคงคลัง แต่เงินคงคลังของไทยก็ 2 ปีดี 3 ปีไข้ ยกตัวอย่างเช่นปี 2551 ปีเดียว เงินคงคลังติดลบกว่า 4 แสนล้านบาท

ผู้เขียนไม่อยากจะโทษนักการเมืองทั้งหมด เรื่องเลวร้ายส่วนใหญ่มาจากการ “ชงเรื่อง” ของข้าราชการและนักวิชาการระดับสูง แล้วนำเสนอต่อฝ่ายการเมือง

ประเทศไทย มีทุนสำรองประมาณ 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 6 ล้านล้านบาท

ประเทศไทย มีหนี้สาธารณะสูงถึง 4.5 ล้านล้านบาท

ประเทศไทย มีหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 1 ล้านล้านบาท

ทำไมจึงมองเห็นแต่ตัวเลขทุนสำรองที่มาก และคิดว่าจะเอามาตั้งเป็นกองทุนมั่งคั่ง ทำไมจึงมองไม่เห็นว่าหนี้สาธารณะ และหนี้ที่กองทุนฟื้นฟูก็สูงมาก ไม่คิดจะหาวิธีเอามาชำระหนี้เหล่านี้บ้าง



วิสัยทัศน์ระดับสูงของกระทรวงการคลัง “น่ากลัว” ประเทศไทยทุกวันนี้ไม่ได้ยืนอยู่บนขา(ทุน)ของตัวเอง แต่ยืนอยู่บนขา(ทุน)ของต่างชาติ จากตารางผู้ถือหุ้นรายใหญ่(ธนาคารเอกชนไทย) จะเห็นว่า ทุกวันนี้ไม่เหลือธนาคารเอกชนใดเป็นของคนไทยแล้ว

ยิ่งออกวิสัยทัศน์มาเท่าใด ประเทศชาติยิ่งหมดตัวมากเท่านั้น มักโยนอุจจาระมาให้ประชาชน เช่นเรื่องหนี้เพื่อการฟื้นฟูที่ต้องใช้ภาษีประชาชนชำระดอกเบี้ยแล้ว 604,473 ล้านบาท หวั่นใจว่า หนี้ที่เหลืออาจจะโยนมาให้ประชาชนเป็นผู้ชำระแทนอีก อุจจาระกองใหม่อย่างสถาบันคุ้มครองเงินฝากก็เพิ่มมาอีก

กระทรวงการคลัง “มักชง” เรื่องที่เป็นอันตรายแก่ประเทศชาติเป็นประจำ ช่วงรัฐบาลทักษิณ ก็ชงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ชงปตท.เข้าตลาดหุ้น ทำให้สินทรัพย์ของประเทศตกไปเป็นของต่างชาติมากขึ้น ใครจะช่วยประเทศได้บ้าง ตัวเลขหนี้สาธารณะก็สูง ทำไมไม่ชงเรื่องการลดหนี้สาธารณะบ้าง

เป็นไปได้ ที่จะเอาเงินจากทุนสำรองออกมาทำประโยชน์ โดยต้องเข้าใจ และระมัดระวัง เรื่องการเคลื่อนย้ายเงินทุนให้ดี สิ่งใดควรทำ สิ่งใดควรแก้ไข อาจจะเอาทุนสำรองออกมามาทำประโยชน์สัก 10-15 เปอร์เซ็นต์


ผู้เขียนเห็นด้วย หากจะนำทุนสำรองออกมาชำระหนี้สาธารณะบ้าง และชำระหนี้ให้กับกองทุนเพื่อการฟื้นฟู จะได้ช่วยลดงบประมาณในการชำระดอกเบี้ยแต่ละปีลง

แต่ไม่ใช่เอาไปตั้งกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ หรือนำไปลงทุนในกิจการพลังงาน


เรื่องที่คล้ายกัน

http://thaipost.net/news/010911/44219 
คลังเขย่าธปท.สั่งงาน4เรื่อง บีบรื้อกรอบเงินเฟ้อ ประสารยันไม่เปลี่ยน

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000108492

http://bit.ly/rkG0kM

………………………………….
 http://twitter.com/indexthai2
 indexthai2@yahoo.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น